วันอังคารที่ 17 มกราคม พ.ศ. 2555

ดอกลีลาวดี

ลีลาวดี
 
 
ชื่อวิทยาศาสตร์   Plumeria spp.
ตระกูล   Apocynaceae
ชื่อสามัญ  Frangipani,Pagoda,Temple 
ถิ่นกำเนิด เม็กซิโกใต้ถึงตอนเหนือทวีปอเมริกาใต้
ดอกลีลาวดี
  ลักษณะทั่วไป
  ลีลาวดี เป็นไม้ยืนต้น มีขนาดจากที่เป็นพุ่มเตี้ยแคระสูงประมาณ0.6 เมตร จนถึงต้นใหญ่มากอาจที่สูงได้ถึง 12 เมตร ลำต้นแผ่กิ่ง
ก้านสาขาและพุ่มใบสวยงาม มีน้ำยางขนสีขาวเป็นพันธุ์ไม้ที่สลัดใบในฤดูแล้งก่อนที่จะผลิดอกผลิใบรุ่นใหม่ชนิดและพันธุ์ที่มีลักษ
ณะดี ต้องมีทรงพุ่มแน่น มีกิ่งก้านสาขามาก ใบดกที่ปลายกิ่ง มีช่อดอกใหญ่ กิ่งที่ยังไม่แก่มีสีเขียวออ่นนุ่ม กิ่งที่แก่มีสีเทามีรอยตะ
ปุ่มตะป่ำ ใบ เป็นใบเดี่ยวมีการเรียงตัวสลับกันและหนาแน่นใกล้ๆปลายกิ่ง มีตั้งแต่สีเขียวอ่อนถึงเขียวเข้ม มีเส้นกลางใบแตกสาขา
ออกไปคล้ายขนนก ขนาดใบแตกต่างกันตั้งแต่ 5-20 นิ้ว ช่อดอก จะถูกผลิตออกมาจากปลายยอดเหนือใบแต่กก็มีบางชนิดที่ออกช่อ
ดอกระหว่างใบหรือออกดอกใต้ใบ ช่อดอกบางชนิดตั้งขึ้น บางชนิดห้อยลง ใน 1 ช่อดอกจะมีดอกบานพร้อมกัน 20-30 ดอก บาง
ต้นสมบูรณ์เต็มที่อาจมีดอกมากกว่า 100 ดอก ต่อ 1 ช่อ ดอกโดยทั่วไป กลีบดอกมี 5 กลีบ เกสรตัวผู้ เกสรตัวเมีย อยู่ลึกเข้าไปข้าง
ใน ดอกของ ลีลาวดีมีสีสรรหลากหลาย ทั้ง ขาว แดง เหลือง ชมพู ส้ม ม่วง สีทอง มีกลิ่นหอมต่างๆกันไปในแต่ละชนิด ดอกมี
ขนาด 2 - 6 นิ้ว มีกลิ่นหอม ผล เป็นฝักคู่ รูปยาวรี กว้างประมาณ 1.5 - 15 ซม. เมื่อแก่แตกเป็น 2ซีก เมล็ดมีจำนวนมาก เมล็ด
แบนมีปีก ลีลาวดีมีช่วงชีวิตที่ยาวนานนับ 100 ปี


http://www.maipradabonline.com/weekly/lilavadee.htm
ชื่อวิทยาศาสตร์      Cassis fistula Linn.
ตระกูล                CAESALPINIACEAE
ชื่อสามัญ            Golden Shower Tree, Purging Cassia
ชื่ออื่นๆ                คูณ ชัยพฤกษ์ ราชพฤกษ์

ลักษณะทั่วไป
ราชพฤกษ์ หรือ คูน (อังกฤษ: Cassia fistula) เป็นพืชพื้นเมืองของเอเชียใต้ ตั้งแต่ทางตอนใต้ของปากีสถาน ไปจนถึงอินเดีย พม่า และศรีลังกา นิยมปลูกเป็นไม้ประดับในพื้นที่เขตร้อนและกึ่งเขตร้อน เจริญเติบโตได้ดีที่สุดในที่โล่งแจ้ง สามารถปลูกได้ทั้งดินร่วนซุย ดินร่วนปนทราย ดินร่วนเหนียว ทนต่อความแห้งแล้งและดินเค็มได้ดี แต่ไม่ทนในอากาศหนาวจัด ซึ่งอาจติดเชื้อราหรือโรคใบจุดได้
ราชพฤกษ์เป็นพรรณไม้ยืนต้นขนาดกลาง ลำต้นมีความสูงประมาณ 12-15 เมตร ผิวเปลือกสีขาวปนเทา ผิวเรียบมีรอยเส้นรอบต้น
และรอยปมอยู่บริเวณที่เกิดของกิ่ง อยู่เป็นบางจุดของลำต้น ใบเป็นใบประกอบมีใบย่อยเป็นคู่ออกจากก้านสบ ใบย่อยมีประมาณ 4-8
คู่ ใบรี รูปไข่ โคนใบมน ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ มีสีเขียว ขนาดใบกว้างประมาณ 2-3 เซนติเมตรยาวประมาณ 3-4 เซนติเมตร
ดอกออกเป็นช่อตามก้านใบ ช่อยห้อยลงล่างเวลาออกดอกใบจะร่วง ดอกมีสีเหลืองภายในดอกจะมองเห็นเป็นเส้นประมาณ 8-10 อัน
คือ เกสรตัวผู้ ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกประมาณ 4 เซนติเมตร ผลมีลักษณะเป็นฝักยาวกลม ทรงกระบอก ปลายแหลมสั้น
มีสีเขียวเมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีดำ ผิวเปลือกแข็งเรียบ ภายในฝักจะมีชั้นกั้นเป็นช่อง ๆ แต่ละช่องประกอบด้วยเมล็ด มีลักษณะแบน
ในแต่ละช่องจะมี 1 เมล็ด และมีสารสีดำนุ่มหุ้มเมล็ดอยู่ด้วย ขนาดความยาวของฝักประมาณ 30-50 เซนติเมตร มีเส้นรอบวงประมาณ 5-7 เซนติเมตร
การเป็นมงคล
คนไทยโบราณเชื่อว่าบ้านใดปลูกต้นราชพฤกษ์ไว้ประจำบ้านจะช่วยให้มีเกียรติมีศักดิ์ศรีเพราะคนไทยส่วนใหญ่ยอมรับว่าต้น
ราชพฤกษ์เป็นต้นไม้ที่มีคุณค่าสูงและยังเป็นสัญลักษณ์ประจำชาติไทยอีกด้วย นอกจากนี้คนไทยโบราณเชื่ออีกว่าใบของต้นราช
พฤกษ์เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์เพราะในพิธีทางไสยศาสตร์ให้ใบทำน้ำพุทธมนต์สะเดาะ เคราะห์ได้ผลดีดังนั้นจึงถือว่าต้นราชพฤกษ์เป็น
ไม้มงคลนาม
ตำแหน่งที่ปลูก
เพื่อเป็นสิริมงคลแก่บ้านและผู้ อาศัย ควรปลูกต้นราชพฤกษ์ทางทิศตะวัตตกเฉียงใต้ ผู้ปลูกควรปลูกในวันเสาร์ เพราะโบราณเชื่อว่าการปลูกไม้เพื่อเอาคุณทั่วไปให้ปลูกในวันเสาร์ ถ้าจะให้เป็นมงคลยิ่งขึ้น ผู้ปลูกควรเป็นผู้ใหญ่ที่ควรเคารพนับถือและเป็นผู้ประกอบคุณงามความดีก็จะ เป็นสิริมงคลยิ่งนัก



สรรพคุณ

ส่วนต่างๆ ของต้นราชพฤกษ์มีประโยชน์ดังนี้
  • ฝักแก่ เนื้อสีน้ำตาลดำและชื้นตลอดเวลา มีรสหวาน สามารถใช้เป็นยาระบายได้ โดยนำฝักมาต้มกับน้ำ และเติมเกลือเล็กน้อย ดื่มก่อนนอนหรือก่อนรับประทานอาหาร นอกจากนั้น ฝักแก่ยังมีสารที่ออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของแมลง เมื่อนำฝักมาบดผสมน้ำแช่ทิ้งไว้ประมาณ 2-3 วัน สารละลายที่กรองได้สามารถฉีดพ่นกำจัดแมลงและหนอนในแปลงผักไดฝักแก่ใช้เป็น เชื้อเพลิงในการหุงต้มด้วยเตาเศรษฐกิจ มีขนาดที่พอเหมาะ ไม่ต้องผ่า เลื่อยหรือตัด เนื้อของฝักแก่ใช้แทนกากน้ำตาลในการทำหัวเชื้อจุลินทรีย์และจุลินทรีย์ขยาย
  • ฝักอ่อน สามารถใช้ขับเสมหะได้
  • ใบ สามารถนำมาใช้ในการฆ่าเชื้อโรคได้
  • ดอก แก้แผลเรื้อรัง



http://www.the-than.com/FLower/11-1.html

ดอกพิกุล

ดอกพิกุล


ชื่อพฤกษศาสตร์ : Mimusope elengi, L.

ชื่อสามัญ : Bullet Wood

ชื่อวงศ์ : Sapotaceae


                                              พิกุลเป็นไม้ยืนต้นขนาดกลาง กิ่งก้านค่อนข้างแจ้ แบน คล้ายต้นหว้า มีพุ่มใบแน่น เหมาะสำหรับปลูกไว้บังแดดตอนบ่าย ดอกมีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยว สีเขียวเข้ม ปลายแหลมมน มีขนาดใบกว้างประมาณ ๗ ซ.ม. ยาวประมาณ ๑๕ ซ.ม. เส้นกลางใบด้านท้องใบนูน ก้านใบยาวประมาณ ๓ ซ.ม. ดอกออกเป็นช่อ เป็นกระจุก ดอกมีขนาดเล็กกว้างประมาณ ๑ ซ.ม. กลีบดอกเล็กแคบยาวเรียงซ้อนกันเป็นชั้น ๆ มองดูริมดอกเป็นจักเล็ก ผลกลมโตคล้ายละมุดสีดา แต่เล็กกว่าเล็กน้อย ผลสุกสีแดงแสด ใช้รับประทานได้ รสฝาดหวานมัน การขยายพันธ์ ใช้เพาะเมล็ด หรือ ตอนกิ่ง ทางด้านสมุนไพร เปลือกใช้ต้มเอาน้ำอมเป็นยากลั้วล้างปาก แก้ปากเปื่อย ปวดฟัน ฟันโยกคลอน เหงือกบวม เป็นยาคุมธาตุ ดอกแห้งใช้ป่นทำยานัตถุ์ แก้ไข้ ปวดศรีษะ เจ็บคอ แก้ปวดตามร่างกาย แก้ร้อนใน เมล็ดตำละเอียดปั้นเป็นยาเม็ดสวนทวาร



http://203.172.208.244/web/stu17/site5_2/index12.htm 

ดอกโสน

                                       ดอกโสน

ดอกโสน

ชื่อวิทยาศาสตร์

Sesbania aculeata

ชื่อวงศ์

Leguminosae

ชื่อตามท้องถิ่น

โดยทั่วไปเรียก โสน ภาคเหนือเรียก ผักฮองแฮง

ลักษณะทั่วไป

เป็นไม้ล้มลุก เป็นพุ่มขนาดกลาง ลำต้นสูงเปราะบางเพราะไม่มีแก่น สูงประมาณ 2–3 เมตร มีกิ่งก้านห่างๆ ใบเล็กฝอยคล้ายกับใบมะขามหรือใบกระถิน ดอกสีเหลืองคล้ายดอกแค แต่ดอกเล็กกว่า มีฝักยาว มีเมล็ดในฝักคล้ายกับถั่วเขียวแต่ฝักยาวกว่า ดอกโสนสามารถนำมาประกอบอาหารได้หลายชนิด เช่น นำมาชุบแป้งทอดกรอบ รับประทานกับขนมจีนน้ำพริก ดอกโสนมีรสหวานชวนรับประทานมาก

การปลูก

ต้นโสนขึ้นเองอยู่โดยทั่วไป โดยเฉพาะตามริมคูน้ำ ริมคลอง ในที่ชื้นแฉะ เป็นพืชขึ้นง่าย ไม่ต้องบำรุงรักษาก็งอกงามดี

สรรพคุณทางยา

เอาต้นโสนมาเผาไฟให้เกรียม แล้วเอามาต้มชงเอาน้ำดื่ม เป็นยาขับปัสสาวะ ดอกโสนนำมาผัดน้ำมันเล็กน้อย หรือเอามาลวกจิ้มน้ำพริกรับประทาน เป็นยาแก้ปวดมวนท้อง


http://www.panmai.com/Food/List_02.shtml 

ดอกดาวเรื่อง

   


ชื่อที่เรียก
ดาวดอกเรือง
ชื่ออื่นๆ
คำพู้จู้
หมวดหมู่ทรัพยากร
ยังไม่ได้ระบุ
ลักษณะ
ดาว เรือง   (Marigold)  เป็นชื่อที่คนไทยทั่วไปรู้จักกันดี  มีชื่อภาษาท้องถิ่นทางภาคเหนือว่า  "ดอกคำปู้จู้"  ซึ่งหมายถึงดอกไม้ที่มีกลีบสีเหลืองคล้ายทองคำ ดาวเรืองเป็นพืชล้มลุก ใบเป็นใประกอบ ลักษณะเรียวยาว ดอกมีลักษณะเป็นแบบดอกรวม ประกอบด้วยดอกย่อยเล็ก ๆ เป็นจำนวนมาก อัดซ้อนกันแน่นอยู่บนฐานรองดอก ดอกมีสีเหลือง ส้ม ครีม และขาว มีตั้งแต่ขนาดเล็ก คือประมาณ 1 นิ้ว จนถึงขนาดใหญ่ประมาณ 4 นิ้ว และเมื่อตัดลำต้น กิ่งก้านหรือใบของดาวเรือง จะมีกลิ่นเหม็น จึงทำให้แมลงไม่ค่อยรบกวน   นอกจากนี้ภายในรากของดาวเรืองมีสารชนิดหนึ่งคือ  แอลฟ่า เทอร์เธียนิล (& - terthienyl) ซึ่งเป็นสารที่สามารถควบคุมปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้เป็นอย่างดี
ประโยชน์
   ดาว เรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจมากชนิดหนึ่ง นอกจากจะมีความสำคัญทางเศรษฐกิจแล้ว  ยังสามารถนำไปใช้ประโยชน์ด้านอื่น  ๆ  ได้อีกด้วย การนำดาวเรืองไปใช้ประโยชน์สรุปได้ดังนี้                     1.  ปลูกประดับเพื่อความสวยงาม
                         ดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่มีความสวยงาม กลีบดอกสีเหลืองเรียงอัดกันแน่น และมีอายุการใช้งานนาน ดังนั้นจึงเหมาะสำหรับปลูกเพื่อประดับอาคารบ้านเรือนและสถานที่ต่างๆ เพื่อให้เกิดความ    เพลิดเพลินตา สบายใจ

                    2. ปลูกเพื่อใช้ประโยชน์ในการป้องกันแมลง
                         เนื่องจากดาวเรืองเป็นสารที่มีกลิ่นเหม็นแมลงไม่ชอบ จึงสามารถใช้เป็นเกราะป้องกัน
แมลงให้แก่พืชอื่น ๆ ด้วยนอกจากนี้รากของดาวเรืองยังมีสารชนิดหนึ่งที่ช่วยลดปริมาณไส้เดือนฝอยในดินได้

                    3.  ปลูกเพื่อจำหน่าย
                         3.1 ใช้ทำพวงมาลัย ปัจจุบันนิยมนำดอกดาวเรืองมาร้อยพวงมาลัยกันมาก ไม่ว่าจะเป็นพวงมาลัยไหว้พระ   หรือพวงมาลัยสำหรับคล้องคอในงานพิธีต่าง ๆ   การตัดดอกดาวเรืองสำหรับใช้
ประโยชน์ในด้านนี้จะต้องให้มีก้านดอกสั้น ๆ หรือให้เหลือเฉพาะดอก
                         3.2 ใช้ปักแจกัน เนื่องจากดาวเรืองเป็นไม้ดอกที่ลักษณะกลมเรียงตัวกันแน่นเป็นระเบียบ และมีสีสันสวยงาม   จึงมีคนนิยมนำมาปักแจกันมาก   ไม่ว่าจะเป็นแจกันตั้งตามโต๊ะรับแขกตามหิ้งพระ หรือแจกันประกอบโต๊ะหมู่บูชา การตัดดอกดาวเรืองเพื่อนำมาปักแจกันนี้ควรตัดให้มีก้านดอกยาวประมาณ  18-20 นิ้ว มัดดอกดาวเรืองเป็นกำ ๆ  แล้วใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ห่อเพื่อให้ดอกดาวเรืองคงความสดอยู่ได้นาน ๆ
                         3.3 การปลูกลงกระถางหรือถุงเพื่อประดับอาคารสถานที่ ปัจจุบันมีการนำกระถางหรือถุงดาวเรืองมาประดับอาคารสถานที่กันมากขึ้น เพราะสามารถใช้ประดับไว้เป็นเวลานาน ไม่ว่าจะเป็นงานพิธีต่าง ๆ เช่น งานนิทรรศการ งานพระราชทานปริญญาบัตร หรือแม้แต่งานพิธีตามอาคารบ้านเรือน การปลูกดาวเรืองเพื่อใช้ประโยชน์ในด้านนี้ ก็เหมือนกับการปลูกดาวเรืองโดยทั่วไป เพียงแต่เป็นการปลูกลงในกระถางหรือถุง แทนที่จะปลูกลงในแปลง พอดอกดาวเรืองเริ่มบาน ก็นำไปใช้ประโยชน์หรือจำหน่ายได้  3.4 จำหน่ายให้กับโรงงานผลิตอาหารสัตว์  เนื่องจากดาวเรืองเป็นพืชที่มีสารแซธโธฟิล(Xanthophyll) สูง จึงสามารถนำไปเป็นส่วนผสมอาหารสัตว์ได้ดี โดยเฉพาะอาหารของของไก่ไข่ จะทำให้ไข่แดงมีสีแดงสดใสน่ากินยิ่งขึ้น
แหล่งที่พบ
บ้านป่าไม้แดง
ตำบล
แม่โป่ง
อำเภอ
ดอยสะเก็ด
จังหวัด
เชียงใหม่